รูปแบบการบริหารกรุงเทพมหานครมีวิวัฒนาการมาควบคู่กับรูปแบบการปกครองของประเทศ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง รูปแบบการบริหารกรุงเทพมหานครมีพัฒนาการมาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคม และการเมืองการปกครองของประเทศและเนื่องจากกรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวงของประเทศ เป็นเมืองศูนย์กลางการบริหารและการปกครองเป็นเมืองศูนย์กลางความเจริญและเป็นเมืองขนาดใหญ่ ที่มีอัตราความเจริญเติบโตขยายตัวอย่างรวดเร็ว เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในภูมิภาคเดียวกัน รัฐบาลทุกรัฐบาลทั้งก่อนและหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองพยายามปรับปรุงการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ การบริหารกรุงเทพมหานคร ให้เหมาะสมและสามารถสนองตอบความต้องการของประชาชนได้อย่างทั่วถึง รวมทั้งสามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมาตลอดระยะเวลากว่า 62 ปี
กรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ 1,568,.737 ตารางกิโลเมตร แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 50 เขตจัดเป็น 6 กลุ่ม เพื่อการบริหารและการพัฒนาให้สอดคล้องกับสภาพทางกายภาพ พัฒนาการทางเศรษฐกิจและสังคมในแต่ละกลุ่ม กกลุ่มรัตนโกสินทร์ ซึ่งประกอบด้วยเขตบางซื่อ ดุสิต พญาไท ราชเทวี ปทุมวัน พระนคร ป้องปราบศัตรูพ่าย สัมพันธวงศ์ บางรัก กลุ่มบูรพา ประกอบด้วย เขตดอนเมืองหลักสี่ วายไหม บางเขต จัตุจักร ลาดพร้าว บึงกุ่ม บางกะปิ วังทองหลาง กลุ่มศรีนครินทร์ ได้แก่เขต สะพานสูง มีนบุรี คลองสามวา หนองจอก ลาดกนะบัง ประเวศ สวนหลวง คันนายาว กลุ่มเจ้าพระยา ประกอบด้วยเขตดินแดง ห้วยขวาง วัฒนา คลองเตย บางนา พระโขนง สาธร บางคอแหลม ยานนาวา กลุ่มกรุงธนใต้ ประกอบด้วยเขตบางขุนเทียน บางบอน จอมทอง ราษฎร์บูรณะ ทุ่งครุ ธนบุรี คลองสาน บางแค และ กลุ่มกรุงธนเหนือ ประกอบด้วย เขตบางพลัด ตลิ่งชัน บางกอกน้อย บางกอกใหญ่ ภาษีเจริญ หนองแขม และเขตทวีวัฒนา
ปัจจุบันคาดว่า มีประชากรอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครประมาณ 10 ล้านคน ใน 1,500,000 หลังคาเรือน โดยเป็นประชากรที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน จำนวน 5,604,772 คน และที่เหลือเข้ามาอาศัยอยู่ชั่วคราวเพื่อรับจ้างใช้แรงงาน เพื่อการศึกษา การประกอบอาชีพ และการค้า เป็นต้น โดยไม่แจ้งย้ายทะเบียนบ้าน จำนวนประชากรที่มีอยู่มนทะเบียนบ้าน มากกว่าเมื่อครั้งสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวง ในปี พ.ศ. 2525 ถึงกว่า 30 เท่า ซึ่งในขณะนั้นคาดว่ามีประชากรประมาณ 185,000 คน นอกจากนี้ยังมีนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามายังกรุงเทพมหานครตลอดทั้งปี ประมาณ ปีละ 6,166,496 คน
การที่กรุงเทพมหานครเป็นมหานครแห่งเดียวชองประเทศที่มากด้วยผู้คนซึ่งหลั่งไหล มาจากทั่วประเทศ และมากด้วยปัญหาสังคมนานัปการรวมทั้งการเจริญเติบโตแบบต่อเนื่องอย่างไม่มีทิศทางในอัตราสูง เช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน นับเป็นภาระอันหนักยิ่งในการบริหารจัดการเพื่ออำนวยความสะดวกด้านสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ ตลอดจนสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีพ ให้สามารถสนองความต้องการและความคาดหวังของประชาชนชาวกรุงเทพมหานคร กล่าวคือ หน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบเรื่องนี้ จะต้องมีรูปแบบโครงสร้างการบริหารที่มีอำนาจหน้าที่อันเหมาะสม พร้อมทั้งมีระบบการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ จึงสามารถอำนวยประโยชน์แก่ประชาชนชาวกรุงเทพมหานครได้อย่างแท้จริงและทั่วถึง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนแรก นั้นคือ ?นายชำนาญ ยุวบูรณ์ ?(เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2516 – 22 ตุลาคม 2516 จากการแต่งตั้ง)
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 2 คือ นายอรรถ วิสูตรโยธาภิบาล (เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2516 – 4 มิถุนายน 2517 จากการแต่งตั้ง)
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 3 คือ นายศิริ สันตะบุตร (เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2517-13 มีนาคม 2518 จากการแต่งตั้ง)
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 4 คือ นายสาย หุตะเจริญ (เมื่อวันที่ 1 พฤษาคม 2518 – 9 สิงหาคม 2518 จากการแต่งตั้ง)
นายธรรมนูญ เทียนเงิน?จาก?พรรคประชาธิปัตย์?ได้รับการเลือกตั้งเป็น?ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 5?จาก การเลือกตั้งคนแรก
นับจากเหตุการณ์ปลดนายธรรมนูญ เมื่อ พ.ศ. 2520 กรุงเทพมหานครมีผู้ว่าราชการจากการแต่งตั้งอีก 4 คน ได้แก่
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 6 คือ?นายชลอ ธรรมศิริ (เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2520 – 14 พฤษภาคม 2522 จากการแต่งตั้ง)
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 7 คือ?นายเชาวน์วัศ สุดลาภา (เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2522 – 16 เมษายน 2524 จากการแต่งตั้ง)
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 8 คือ?พลเรือเอกเทียม มกรานนท์ (เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2524 – 1 พฤศจิกายน 2527 จากการแต่งตั้ง)
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 9 คือ?นายอาษา เมฆสวรรค์ (เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2527 – 13 พฤศจิกายน 2528 จากการแต่งตั้ง)
พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 10
ร.อ. กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา?รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในสมัย พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ได้ขึ้นเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 11 (ลงสมัครโดยไม่สังกัดกลุ่มใด แต่อยู่ภายใต้การสนับสนุน ของ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง) (เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2535 – 18 เมษายน 2539 จากการเลือกตั้ง)
มีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ คนใหม่เมื่อวันที่?3 มิถุนายน?พ.ศ. 2539?โดย?ดร.พิจิตต รัตตกุล?ผู้สมัครในนาม กลุ่มมดงาน ได้รับเลือกตั้งเป็น?ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 12 (เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2539 – 1 มิถุนายน 2543 จากการเลือกตั้ง)
นายสมัคร สุนทรเวช?อดีตหัวหน้าพรรคประชากรไทยได้รับเลือกตั้งเป็น ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 13 (เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2543 – 22 กรกฎาคม 2547 จากการเลือกตั้ง)
นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน?ผู้สมัครจาก พรรคประชาธิปัตย์ ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 14 (เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2547 – 28 สิงหาคม 2551 จากการเลือกตั้ง
ผู้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 15 คือ?ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร พรรคประชาธิปัตย์?มีวาระการดำรงตำแหน่ง ตั้งแต่วันที่ 11?มกราคม พ.ศ. 2552?ถึงวันที่?10 มกราคม?พ.ศ. 2556?จากการเลือกตั้งที่ผ่านมา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น