1. เสาชิงช้า วัดสุทัศน์
เสาชิงช้า มีความเกี่ยวพันกับชีวิตชาวไทยอยู่มาก เมื่อสร้างกรุงเทพฯ เสร็จแล้วก็ได้มีการสร้างโบสถ์พราหมณ์และเสาชิงช้า เดิมเสาชิงช้านั้นตั้งอยู่ริมถนนบำรุงเมือง ทางจะเลี้ยวไปถนนดินสอ มีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2327 ย้ายมาตั้งในที่ปัจจุบันเมื่อสมัยรัชกาลที่ 5 ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 บริษัท หลุยส์ ที. เลียวโนแวนส์ ซึ่งเป็น บริษัทค้าไม้ได้อุทิศซุงไม้สักเพื่อสร้างเสาชิงช้าใหม่เสร็จเรียบร้อยเมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2463ซ่อม ใหม่เมื่อ พ.ศ. 2502 มีส่วนสูงทั้งหมด 21.15 เมตร เสาชิงช้านี้ใช้พิธีตรียัมปวาย หรือพิธีโล้ชิงช้าในศาสนาพราหมณ์ ซึ่งจัดให้มีในเดือนยี่ของทุกๆ ปี
2.แห่ดาว
งานประเพณีดาวจัดขึ้นเพื่อเป็นการอนุรักษ์และสืบสานประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น รวมทั้งเสริมสร้างการท่องเที่ยวภายในจังหวัด งานประเพณีแห่ดาวเป็นเทศกาลคริสต์มาสของจังหวัดสกลนครถือเป็นประเพณีท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์โดเด่นและมีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทยจัดขึ้นทุกปีในช่วงเทศกาลคริสต์มาส ตามตำนานเล่าว่า ในช่วงเวลาที่พระเยซู ประสูตินั้นโหรา
จารย์ได้มองเห็นดาวลักษณะพิเศษดวงหนึ่งที่มีความสุกสว่างกว่าดาวทั่วไปที่ปรากฏบนท้องฟ้า จึงออกเดินทางตามแสงของดวงดาวจนไปพบกับสถานที่ประสูติพระเยซูที่เมืองเบลเลเฮมประเทศปาเลสไตน์ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาชาวคริสต์ถือว่า ดาว คือสัญลักษณ์การลงมาประสูติบนโลกมนุษย์ของพระเยซูเจ้า
3.ประเพณีแห่พระบรมสารีริกธาตุวัดนางชี
วัดนางชีเป็นวัดเก่า ไม่ทราบแน่ชัดว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยไหน แต่สันนิษฐานได้ว่าเป็นวัดที่สร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เจ้าพระยาพิชิตชัยมนตรีได้สร้างร่วมกับพระยาฤาชัยณรงค์ และออกหลวงเสนาสุนทร สาเหตุที่สร้างก็เนื่องมาจากแม่อิ่มลูกสาวของเจ้าพระยาพิชิตชัยมนตรีป่วยอย่างไม่รู้สาเหตุ จนกระทั่งมีชีปะขาวมานิมิตเข้าฝันให้เจ้าพระยาพิชิตชัยมนตรีแก้บนโดยให้ลูกสาวบวชชี ดังนั้นเมื่อแม่อิ่มหายป่วย เจ้าพระยาพิชัยมนตรีจึงให้ลูกสาวบวชชีพร้อมกับสร้างวัดนี้ วัดนี้ได้กลายเป็นวัดร้างในปลายแผ่นดินของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ (พระราชาธิราชที่ ๒) เพราะขาดการดูแลเอาใจใส่ ซึ่งอาจจะเนื่องมาจากอยู่ระหว่างทำสงครามกับพม่าก่อนกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่ ๒ วัดนี้ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ในสมัยรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พ่อค้าสำเภาชื่อพระยาโชฏึกราชเศรษฐี ซึ่งเป็นพ่อค้าชาวจีนอาศัยอยู่ในแผ่นดินสยามได้เป็นผู้บูรณะและปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ทั้งวัด ได้ดัดแปลงและแก้ไขรูปทรงพระอุโบสถพระวิหารให้เป็นแบบจีน ประดับประดาด้วยเครื่องเคลือบ และนำตุ๊กตาหินแบบจีนและหินปูทางเดินมาจากเมืองจีนเพื่อมาทำการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดนี้ นอกจากนี้ได้ถวายเครื่องใช้แบบจีนเป็นจำนวนมาก พร้อมทั้งเตียงไม้มะเกลือประดับลายหอยมุกและหินอ่อน ซึ่งเป็นของลูกสาวที่เสียชีวิตอยู่บนเตียงนี้เมื่ออายุประมาณ ๑๘ ปี ๑ หลัง เมื่อสร้างเสร็จได้ถวายวัดนี้แด่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเป็นพระอารามหลวง ได้พระนามว่า "วัดนางชีโชติการาม" ต่อมาในรัชกาลที่ ๓ พระยาราชานุชิต (จ๋อง) ได้บูรณะและปฏิสังขรณ์วัดนี้อีกครั้งและถวายเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ดังปรากฏอยู่จนทุกวันนี้
4.งานว่าวสนามหลวง
จัดขึ้นปีละ 1 ครั้ง ระหว่างกลางเดือนกุมภาพันธ์-กลางเดือน เมษายน ณ ท้องสนามหลวง โดยการแข่งขันจะเริ่มเวลาประมาณ 16.45-17.30 น. และในระหว่างเทศกาลดังกล่าว บริเวณท้อง สนามหลวงก็ได้จัดกิจกรรมเสริมอื่นๆ ให้ชมด้วย เช่น การแสดง ศิลปะป้องกันตัว กระบี่กระบอง ดนตรีไทย การจำหน่ายว่าวชนิด ต่างๆ รวมทั้งมีการนำว่าวจากต่างประเทศมาแสดงด้วย เป็น กิจกรรมที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก จากชาวไทยและชาวต่างประเทศ
5.พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ทำเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่พืชพันธุ์ธัญญาหาร และเพื่อเป็นการบำรุงขวัญเกษตรกรไทย โดยพระราชพิธีพืชมงคลเป็นพิธีสงฆ์ พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพิธีพราหมณ์ แต่มีจุดประสงค์อย่างเดียวกัน พระราชพิธีนี้กระทำต่อเนื่องกัน พระราชพิธีพืชมงคลจะทำก่อนพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ 1 วัน ในเดือน 6 หรือเดือนพฤษภาคม ณ ท้องสนามหลวง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น